ภารกิจของเรา

Naturalliance เป็นแนวทางให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในการฟื้นฟูและรักษาประโยชน์ทางธรรมชาติในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่

 

ระบบนิเวศของโลกและทรัพยากรต่าง ๆ

เอิร์ธไรซ์ (อังกฤษ: Earthrise) เป็นภาพถ่ายโลกที่ถ่ายระหว่างภารกิจอะพอลโล 8 เที่ยวบินที่มีมนุษย์โดยสารเที่ยวบินแรกที่ถูกส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ขององค์การนาซา
เอิร์ธไรซ์ (อังกฤษ: Earthrise) เป็นภาพถ่ายโลกที่ถ่ายระหว่างภารกิจอะพอลโล 8 เที่ยวบินที่มีมนุษย์โดยสารเที่ยวบินแรกที่ถูกส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ขององค์การนาซา

ลองนึกภาพโลกเป็นลูกฟุตบอลลูกหนึ่งที่อยู่ในมือของเรา ระบบนิเวศของโลก (Ecosphere) หรือชั้นที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งที่อยู่เหนือและใต้พื้นดิน หรือแม้แต่ในน้ำ มีขนาดน้อยกว่าความหนาของเล็บมือเราเสียอีก ระบบนิเวศน์ที่เปราะบางนี้ ประกอบกันเป็นโมเสกที่สวยงาม ที่มีทั้งพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน และในน้ำ มนุษย์เรารวมไปถึง ป่าไม้ ภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทราย ทะเลสาบ แม่น้ำ และทะเล ก็คือส่วนหนึ่งของระบบนิเวศดังกล่าว และการดำรงชีวิตของมนุษย์ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาอาศัยระบบนิเวศเหล่านี้ทั้งสิ้น

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

นกกระทาสีน้ำตาล (Grey Partridge) สัญลักษณ์แห่งความอุดสมบูรณ์ในพื้นที่เพาะปลูก เครดิตภาพโดย Matej Vranič
นกกระทาสีน้ำตาล (Grey Partridge) สัญลักษณ์แห่งความอุดสมบูรณ์ในพื้นที่เพาะปลูก เครดิตภาพโดย Matej Vranič

ลองนึกภาพของสิ่งมีชีวิตกลุ่มเล็ก ๆ (พืช สัตว์ เชื้อรา หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ) ที่อยู่ในระบบนิเวศ ซึ่งมีทั้งแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์ โดยอาจมีโรค ปรสิต หรือการตายเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นหรืออาจไม่มีเลย จากการศึกษาพบว่าประชากรของสิ่งมีชีวิตจะมีการเพิ่มจำนวน โดยใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น แบคทีเรียสามารถเพิ่มปริมาณมากขึ้นได้เป็นสองเท่าในเวลาไม่กี่นาที แต่ช้างอาจใช้เวลาเป็นสิบปีหรือมากกว่านั้นในการเพิ่มจำนวนประชากรของมัน นอกจากนี้ประชากรของพืชและสัตว์ที่มีขนาดเล็กยังสามารถเพิ่มจำนวนได้หลายครั้งในรอบปี แต่ถ้าประชากรของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร การเพิ่มขึ้นของของจำนวนประชากรก็อาจลดน้อยลง ภัยธรรมชาติ การล่า และการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรใหม่เกิดมาพร้อมกับการขาดแคลนอาหารและทำให้อายุสั้นลง การตายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจึงทำให้เกิดแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศนั้น ๆ รวมทั้งเราด้วย

ผลกระทบของมนุษย์ต่อระบบนิเวศ

มนุษย์อาศัยอยู่ในโลกนี้ในฐานะนักล่ามาเมื่อหลายพันปี ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืช การทำการเกษตรเริ่มแพร่หลายในยุคน้ำแข็งตอนปลาย ทำให้สามารถผลิตอาหารเองได้อย่างมีเสถียรภาพ เกิดการตั้งถิ่นฐาน มีการพัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นชุมชนเมืองต่าง ๆ เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จึงสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศและสภาพภูมิอากาศ เมื่อขบวนการในระบบนิเวศถูกรบกวนและหยุดชะงักก็จะส่งผล กระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในธรรมชาติในที่สุด ในชนบท การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าอาจมีมากเกินไป หากไม่มีการจัดการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ในขณะที่ชุมชนเมือง มนุษย์พึ่งพาผลผลิตทางระบบนิเวศที่ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงที่ทันสมัย ซึ่งปัจจุบันมีเพียงประชากรส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเข้าใจกระบวนการสร้างผลผลิตดังกล่าว อีกทั้งกฏระเบียบที่สร้างขึ้นโดยคนเมืองส่วนใหญ่ มักจะไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบท ด้วยจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่สามารถคาดคะเนได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบของมนุษย์ที่จะสร้างความเสียหายต่อความสามารถของระบบนิเวศได้ หากไม่มีแนวทางร่วมมือและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นทั้งความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และความรู้ในเชิงปฏิบัติประกอบกัน